Category: News

0

‘ดร.อานนท์’ ยก MOU ไทย-มาเลเซีย เทียบ MOU44 ขัดรธน. เป็นโมฆะ การก้าวล่วงพระราชอำนาจ

15 พ.ย.2567 – ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า MOU 44 นั้นขัดรัฐธรรมนูญ และเป็นโมฆะ เพราะสนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นพระราชอำนาจในการเจริญพระราชไมตรีของพระมหากษัตริย์บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญเสมอมาMOU ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ในพ.ศ. 2523 และ 2526 กำหนดไหล่ทวีป นั้นมีการประกาศเป็นพระบรมราชโองการในราชกิจจานุเบกษา มีการลงพระปรมาภิไธย และมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี จึงมีผลบังคับใช้ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ สิ่งที่นายทักษิณ ชินวัตรและนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทยกระทำ ขัดรัฐธรรมนูญและเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์   (function(d,...

0

พ่อเหลิงอำนาจลูก

เตรียมรับเพิ่มไปอีกคดีครับ… งานนี้ไม่น่ารอด “ทักษิณ ชินวัตร” ทำตัวพองมากไป คิดว่ามีกำลังภายใน สามารถหลบเลี่ยงกฎหมายได้ทุกเรื่อง ก็ลองดู… “…อย่าลืมผม ผมกลับมาแล้ว แล้วอย่าลืมกาเบอร์สอง หากไม่รู้ว่าเบอร์สองชื่ออะไร ชื่อทักษิณแล้วกัน กาทักษิณแล้วกัน…” คำปราศรัยของ “ทักษิณ” เมื่อวานซืน (๑๓ พฤศจิกายน) พรรคเพื่อไทยส่ง “ศราวุธ เพชรพนมพร” อดีต สส.หลายสมัย ลงสมัครชิงเก้าอี้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี เมืองหลวงคนเสื้อแดง ได้เบอร์ ๒ คำปราศรัยของ “ทักษิณ” เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๖๒...

0

ซีพีเอฟโชว์กำไร Q3 เพิ่มขึ้น 504%

14 พ.ย. 2567 – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  และบริษัทย่อย  ผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร มีการลงทุนและร่วมลงทุนใน 17 ประเทศ พร้อมทั้งมีการค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รายงานผลการดำเนินเงินไตรมาส 3 ปี 2567 ด้วยยอดขายจำนวน 142,703 ล้านบาท เป็นส่วนของกิจการต่างประเทศร้อยละ 62 และกิจการประเทศไทยร้อยละ 38 โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 7,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 504%...

0

สว.ปฏิมากังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!

14 พ.ย.2567 – นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของสังคม อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นนี้กำลังถูกสั่นคลอนอย่างน่ากังวล จากหลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่ยังไม่โปร่งใสและปราศจากการตรวจสอบที่เป็นธรรม เรื่องเช่น กรณีเขากระโดง กรณีสนามกอล์ฟอัลไพน์ หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการครอบงำพรรคการเมือง ซึ่งเป็นที่สนใจและข้อกังวลของประชาชนอย่างมาก และไม่เพียงเท่านั้น ยังมีข่าวลือถึงการแทรกแซงวุฒิสภา ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจว่าผู้แทนของพวกเขาจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางหรือไม่ กระบวนการยุติธรรมคือ รากฐานของการปกครองที่เป็นธรรม การที่สังคมจะเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม หากกระบวนการยุติธรรมถูกบิดเบือน ประชาชนย่อมเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย และอาจเลือกไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อันเป็นผลมาจากการเห็นตัวอย่างที่ไม่ดีจากผู้ที่อยู่ในอำนาจ การเพิกเฉยต่อกฎหมายไม่ได้เพียงแต่ทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่ยังทำให้เยาวชนรุ่นหลังเห็นว่าความไม่ถูกต้องคือสิ่งที่ยอมรับได้ หนึ่งในกฎหมายสำคัญที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบของทุกคนในสังคมไทยคือ มาตรา 119...

0

‘ดร.อานนท์’ อธิบายภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ เรื่อง MOU44

14 พ.ย.2567 – ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กสั้นๆ ว่า อธิบายเรื่อง MOU44 ให้ง่ายที่สุดชาวบ้านเข้าใจ ผมอธิบายอย่างนี้ครับ ไดโนเสาร์นับล้านตัวตายไปกลายเป็นน้ำมันปิโตรเลียมใต้อ่าวไทย เหี้ยกับลูกสาวเหี้ยขายชาติไปสมคบคิดเขมรขุดศพไดโนเสาร์ (น้ำมันปิโตรเลียม) มาขายหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง

0

‘เอ็มโอยูเถื่อน’

กระทรวงการต่างประเทศต้องอธิบายแล้วล่ะครับ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร แผนที่ผิดทิศ มันจะฉิบหายเอานะครับ เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ “คำนูณ สิทธิสมาน” พาไปเรียนวิชาภูมิศาสตร์โลก เกี่ยวกับเส้นรุ้ง เส้นแวง ละติจูด ลองจิจูด เอกสารแนบท้าย MOU 2544 เขียนแผนที่ผิดทิศ! “…เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนักๆ ทั้งนั้น ขอคุยเรื่องเบาๆ สลับฉากเป็นเสมือนภาคแยกบ้าง! เรื่องเอกสารแนบท้าย 1 หน้ากระดาษที่มีลักษณะเป็นแผนที่หรือแผนผังแสดงพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนของทั้งกัมพูชาและไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนขีดเส้นทแยงถี่ๆ...

0

‘อิชิอิ’เผยเลบานอนเล่นเป็นระบบ ใช้ความสามารถเฉพาะตัวน้อย ย้ำลูกทีมเก็บบอลทำลายเกมคู่แข่ง

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว ธรรมศาสตร์ สเตเดียม รังสิต จังหวัดปทุมธานี ฝ่ายจัดการแข่งขันจัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขัน ฟุตบอลอุ่นเครื่องตามปฏิทินฟีฟ่าเดย์ นัดแรก ระหว่าง ทีมชาติไทย พบกับ เลบานอน การแถลงข่าวครั้งนี้นำโดย มาซาทาดะ อิชิอิ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย พร้อมด้วย พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี ในฐานะกัปตันทีมชาติไทยในสองเกมนี้ เป็นตัวแทนในการแถลงข่าว โดย มาซาทาดะ อิชิอิ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย กล่าวว่า...

0

‘ไอกรนในเด็ก’แพร่ระบาดในโรงเรียน คาดเข็มสุดท้ายที่ฉีด ตอน 4ขวบหมดฤทธิ์

13 พ.ย.2567 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการไอ จาม และการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไป โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบหรือภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ มักพบการระบาดในสถานที่ที่มีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคไอกรนในระยะแรกจะคล้ายหวัดธรรมดา มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย และมีไข้ต่ำๆ หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ จะมีอาการไอรุนแรงเป็นชุดๆ จนกระทั่งหายใจเข้าดังวี้ด บางรายอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะในเด็กทารกอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเขียว หยุดหายใจ และอาจเสียชีวิตได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการหากพบว่าเด็กมีอาการไอติดต่อกันนานเกิน 2...

0

‘ดร.อาทิตย์’ ข้องใจทำไม พระบรมราชโองการ-คำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม

13 พ.ย.2567 – ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ทำไมพระบรมราชโองการ และ คำพิพากษาศาลฎีกาไม่มีความหมาย ไม่ศักดิ์สิทธิ์ และไม่ได้รับการปฏิบัติตามแถมยังฝ่าฝืนอีกด้วยถ้ามีความหมาย และ ศักดิ์สิทธิ์จริงจะเกิดกรณีต่างๆเหล่านี้ได้อย่างไร เช่นเขากระโดงสนามกอล์ฟอัลไพน์MOU 2544การไม่ยึดทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาการไม่คืนทรัพย์สิน ปตท เหตุการณ์ชั้น 14เหล่านี้คือต้นเหตุความล่มสลายของความยุติธรรมประเทศไทยควรมี สภาธรรมาภิบาลและคุณธรรม Council of Governance and Integrity ใหญ่กว่าและเหนือกว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรของรัฐทั้งหมด เพื่อควบคุม ตรวจสอบ...

0

ผิดมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔

ครับ…ถ้าดินแดนที่มันชัดเจนแล้ว คงไม่มีปัญหา ของใครของมัน แต่ดินแดนที่ยังไม่ชัดเจน ให้เรียกพื้นที่อ้างสิทธิแทนพื้นที่ทับซ้อนได้หรือเปล่า จะใช้เกณฑ์อะไรวัด นักวิชาการบางคนใช้คำรวมกันด้วยซ้ำ คือ พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา แล้วมันต่างกันอย่างไร ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า เส้นเขตแดนที่แสดงอยู่ใน MOU 44 คือเส้นไหล่ทวีป ซึ่งเป็นประเด็นเรื่องแสวงประโยชน์ใต้ดิน ไม่เกี่ยวข้องกับการ “เสียสิทธิสภาพใดๆ ทั้งหลายในการปกป้องประเทศ”  “…การประกาศเส้นไหล่ทวีปเป็นเรื่องของใต้ดิน ไม่เกี่ยวอะไรกับการเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว หรือเสียอธิปไตยที่จะปกป้องประเทศ ไม่เกี่ยวเลย แต่เป็นเรื่องแสวงหาประโยชน์ เรามีสิทธิแสวงหาประโยชน์ตรงนี้…” พออนุมานได้ว่าถ้า “ทับซ้อน” ใช้กับพื้นที่บนบก อ้างสิทธิ...