นายพลเสื้อส้ม ชำแหละ 8 ข้อ MOU 44 ไม่ใช่การรับรองอาณาเขตทางทะเลให้กัมพูชา

7 พ.ย.2567 – พลโทพงศกร รอดชมภู หรือ เสธ.โหน่ง แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เห็นกำลังกระพือข้อมูลว่าเรื่องกรณีผลประโยชน์ในอ่าวไทย ใครคัดค้านเป็นพวกขวาจัดคลั่งชาติ ในฐานะที่ผมประกาศตัวเสมอมาว่าเป็นกลางซ้ายและไม่คลั่งชาติเพราะนิยมความหลากหลาย น่าจะพออธิบายความได้บ้าง

เรื่องแรก ไม่ต้องเอาประเด็นเกาะกูดมาพูดเพราะตามสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสทุกเกาะเป็นของไทยจนถึงแนวหลักเขตที่ ๗๓ เพราะการพูดเอาเกาะกูดมาบังเรื่องอื่นนั้นถือว่าให้ข้อมูลเพียงครึ่งเดียวเพื่อให้คนไทยหยุดตื่นตัว แบบนี้ไม่เป็นธรรมกับชาวไทย

เรื่องที่สอง ใครจะขอยกเลิก MOU 44 นั้นอย่าไปบอกว่ากลัวกัมพูชาจะฟ้อง ในกรณีระหว่างประเทศขัดแย้งกันหากตกลงกันได้จะเอาเรื่องขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) ซึ่งเวลานี้ไทยถอนตัวจากการเป็นภาคีแล้วจากกรณีพระวิหาร ซึ่งส่วนตัวไทยไม่ควรไปขึ้น ICj แต่แรกเพราะมีปัญหาการยอมรับว่าเป็นของฝรั่งเศสมาก่อน ส่วนกรณี อาณาเขตทางทะเลนั้นไทยสำรวจตามกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ขึ้น ICJ เมื่อไหร่ก็ชนะ ตรงนี้ไทยได้เปรียบ ยกเว้นกรณีรัฐบาลไทยไปเอ่ยปากรับรองเส้นที่กัมพูชาขีดเอาเอง หากเป็นเช่นนั้นก็เป็นการยกเว้นให้ประโยชน์ตกกับกัมพูชาเพราะไทยยกให้เอง ตรงนี้ต่างหากที่มีการเรียกร้องให้ยกเลิก MOU44 อย่างไรก็ตาม MOU44 ก็บังคับให้ต้องเจรจาเรื่องเขตแดนคู่ไปกับผลประโยชน์เสมอ เพราะเขตแดนจะเป็นตัวกำหนด “ทะเลอาณาเขต” ๑๒ ไมล์ทะเลที่ถือเสมือนเป็นอาณาเขตบนแผ่นดิน ดังนั้นแม้ใช้ MOU44 ก็หมายถึงยังไม่ยอมรับเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่กัมพูชาขีดเองล้ำเข้ามาในเขตไทยฝ่ายเดียว

เรื่องที่สาม เลิกพูดถึงพื้นที่ทับซ้อนได้แล้ว เพราะไม่มีจริงตามกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากต้องเป็นการแบ่งครึ่งเท่า ๆ กันระหว่างเขตแดนทางบกของสองประเทศที่ตรงกันข้ามกัน กรณีเกาะกูดเมื่อเป็นของไทยบวกกับทะเลอาณาเขตอีก ๑๒ ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด ต้องเอาอาณาเขตทางทะเลนี้เป็นที่ตั้ง แล้วให้กัมพูชาวัดจากอาณาเขตทางแผ่นดินที่ใกล้ที่สุดบวก ๑๒ ไมล์ทะเลเช่นกัน ลากตั้งฉากจากแผ่นดินชนกันตรงไหนที่แบ่งครึ่งกันก็จะนับเป็นอาณาเขตทางทะเลซึ่งไม่มีทางเกิด “พื้นที่ทับซ้อน” ได้เลย จะมีเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ซึ่งกัมพูชาไม่ยอมรับกฎหมายทะเลนี้และต้องการให้ไทยหลุดปากรับรองเส้นที่กัมพูชาขีดเองผ่านเกาะกูด ซึ่งแนวโน้มรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่กับดักนี้ ขึ้นอยู่กับว่ามีเจตนาหรือไม่มีเจตนาเท่านั้น ถ้าไม่มีเจตนาก็ดีหน่อยเป็นแค่ความไม่รู้เท่านั้น ดังนั้นหากยึดตามกฎหมายทะเลจะไม่มีพื้นที่ทับซ้อน ยกเว้นกรณีไทย-มาเลเซีย เกิดพื้นที่ทับซ้อนเพราะวัดจากแผ่นดินตั้งฉากออกไปจากด้านเดียวกัน ไม่ได้ยันกัน จึงเกิดขึ้นได้

เรื่องที่สี่ เลิกพูดเรื่องแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา เหตุผลเพราะไทยสำรวจอาณาเขตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศจึงไม่มีส่วนใดล้ำเข้าไปในเขตของกัมพูชาคำพูดแบบไม่มีความรู้ว่าต่างคนต่างผิดเพราะต่างคนต่างขีดเส้นนั้นไม่ถูกต้อง มีแค่ฝ่ายกัมพูชาเท่านั้นที่ขีดเส้นเอง เอาแค่ขีดเส้นผ่านอาณาจักรไทยคือเกาะกูดปกติต้องประกาศสงครามกันแล้ว ดังนั้นจึงมีแต่ฝ่ายกัมพูชาเท่านั้นที่ได้เปรียบฝ่ายเดียว ยังจะไปพยายามยัดเยียดให้ยอมรับว่าไทยขีดเส้นไม่ถูกต้องเสียอีก ดังนั้นหากจะให้เกิดความเป็นธรรมจริง ก็อาศัยเส้นแบ่งครึ่งนั้นไทยขอขีดเองเข้าไปในเขตกัมพูขาในจำนวนเท่า ๆ กัน แล้วร่วมกันขุดหาผลประโยชน์ แบบนี้กัมพูชาน่าจะยอมรับได้ฝ่ายละ ๒๕,๐๐๐ ตร.กม. รวมเป็น ๕๐,๐๐๐ ตร.กม. บริษัทเอกชนพร้อมจ่ายอยู่แล้ว แต่ละประเทศก็ได้ประโยชน์พร้อมกันไปเรื่องจะได้จบจะดีไหม หรือว่าถนัดแค่การยกให้ฝ่ายเดียวกัน

เรื่องที่ห้า เลิกพูดคำว่า“ไหล่ทวีป” เพราะต่างคนต่างประกาศ “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” ๑๒๐ ไมล์ทะเล ภายใน“เขตไหล่ทวีป” ๓๕๐ ไมล์ทะเลได้กันทุกประเทศ แต่หากมีเรื่องดินแดนทางบกและทะเลอาณาเขต ๑๒ ไมล์ทะเลจากฐานเขตแดนและตั้งฉากออกมามาบังคับอยู่ด้วย อ่าวไทยคงเลิกพูดเรื่องไหล่ทวีปได้แล้ว

เรื่องที่หกคำว่า “คลั่งชาติ” กับ“การรักษาผลประโยชน์ของชาติ” น่าจะมีความแตกต่างกัน ความคลั่งมาจากการกระทำที่อยู่นอกเหนือหลักกฎหมายและกติกา เช่นกีฬาแพ้ คนไม่แพ้ เข้าไปตีกันแบบนี้เรียกคลั่ง แต่การกระทำการภายในกติกาและรักษากติกาให้มั่นโดยมีผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้งจะกลายเป็นพวกคลั่งไปได้อย่างไร การใช้ภาษาเหยียดคนอื่นหรือการแต้มสีให้คนอื่นเพื่อจุดมุ่งหมายของตนเองเป็นวิธีการที่ไม่เป็นธรรมต่อประขาชนที่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ แม้แต่ผู้แต้มสีเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นประเภทไหนระหว่าง ไม่มีข้อมูลหรือมีแต่ทำเป็นไม่มี

เรื่องที่เจ็ด ตกลงกับกัมพูชาไม่ได้ ทรัพยากรในทะเลจึงเอาขึ้นมาใช้ไม่ได้ เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะเส้นของกัมพูชาไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ (กรณีที่ไม่มีรัฐบาลไหนไปรับรองเส้นของกัมพูชา) เมื่อไทยสำรวจเสร็จแล้ว ในเขตของไทย ไทยจะหาผลประโยชน์อะไรก็ทำไปในสิทธิ หากกัมพูชาไม่พอใจ ใก้ไปฟ้องศาลโลกเอาเองซึ่งนอกจากไทยไม่ได้รับรองศาลโลกแล้วถึงขึ้นไปก็ชนะอยู่ดี ตรสบเท่าที่ไม่มีรัฐบาลไหนไปรับรองเส้นของกัมพูชา และขอย้ำว่า MOU 44 ไม่ใช่การรับรองอาณาเขตทางทะเลให้กัมพูชาเพราะยืนยันให้สำรวจเรื่องนี้ก่อน หากกัมพูชารีบร้อนจะหาผลประโยชน์ก็ต้องสำรวจก่อน ส่วนไทยสำรวจแล้วก็ทำการขุดเจาะไป จะไปรอทำไมกับกัมพูชา

เรื่องที่แปด เลิกพูดคำว่า “MOU คือข้อตกลง” ยิ่งพูดก็ยิ่งตีความหมายไปได้ว่าพยายามยัดเยียดอาณาเขตส่วนของไทยให้กัมพูชาเสมือนว่าได้ตกลงยกให้ไปแล้ว บันทึกข้อตกลงต้องใช้คำว่า MOA (memorandum Of Agreement) ในทางธุรกิจ ยิ่งใช้มาก พูดรัว ๆ กัมพูชายิ่งเก็บข้อมูลเอาไปขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ยิ่งบอกว่าต้องเข้าสภาฯจึงยกเลิกได้ ยิ่งแสดงสถานะเรื่องดินแดนมากขึ้น เพราะการตกลงเรื่องดินแดนต้องเอาเข้าสภาฯ เข้าใจว่าตอนเริ่มต้นเป็นบันทึกความเข้าใจเพื่อเปิดการเจรจาได้เท่านั้นและใช้อำนาจฝ่ายบริหารเท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องดินแดนและไม่ผ่านสภาฯมาแต่แรก แต่ทำไมตอนจะยกเลิกต้องผ่านสภาฯ ถ้าทุก MOU ต้องยกเลิก ทำไมกรณี พท กับ กก เมื่อข้ามขั้วไม่ต้องเอาเข้าสภาฯ

ทั้งหลาย ทั้งปวงโดยส่วนตัวไม่เห็นความจำเป็นต้องรออะไรกับกัมพูชา หากไทยจะดำเนินการหาผลประโยชน์ในอาณาเขตของเราตามกฎหมายระหว่างประเทศ ใครมารุกรานก็ทำสงคราม ทหารมีไว้ทำไม เห็นพูดกันบ่อย ก็เอาไว้รบเมื่อถูกรุกรานนี่เอง

ภาพประกอบอาจทำให้เข้าใจได้มากขึ้น ดูระหว่างไทยกับอินโดนีเซียเขตแดนตรงกันข้ามกันจึงมีเส้นเดียว ส่วนไทยกับมาเลเซียอยู่ฝั่งเดียวกันจึงมีพื้นที่ทับซ้อนและตกลงกันเป็น “เขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area : JDA)” ได้ จึงเอาไปเทียบกับกรณีกัมพูชาไม่ได้ครับ

(function(d, s, id) {
var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
if (d.getElementById(id)) return;
js = d.createElement(s); js.id = id;
js.src=”https://connect.facebook.net/en_US/sdk.js#xfbml=1&version=v2.12″;
fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, ‘script’, ‘facebook-jssdk’));

The post นายพลเสื้อส้ม ชำแหละ 8 ข้อ MOU 44 ไม่ใช่การรับรองอาณาเขตทางทะเลให้กัมพูชา appeared first on .

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *